วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ภาษาคอมพิวเตอร์



1. ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึง

ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกันยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม






2. ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับ


ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ มี 2 ระดับ คือ

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถ
เขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)เป็นต้น


2.ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ
การใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreterหรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler







3. ตัวแปลภาษา


ตอบ ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะเลือกภาษาใดในการเขียนโปรแกรม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของภาษากับลักษณะของงาน และความถนัดของผู้เขียนโปรแกรมเอง แต่รูปแบบของภาษาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจ เพราะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์ เรียกว่า “ภาษาระดับสูง (High-level Language)”ภาษาเหล่านี้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า แทนด้วยระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 หรือที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” อยู่ในกลุ่มภาษาระดับต่ำ (Low-level Language) ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งได้นั้นจะต้องทำการแปลชุดคำสั่งจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ สามารถแบ่งรูปแบบของตัวแปลภาษาได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ

1. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) โดยวิธีการแปลความหมายในรูปแบบของอินเตอร์พรีเตอร์ คือการอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้นครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้า จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้แปลอินเตอร์พรีเตอร์ได้แก่ ภาษาเบสิก

2. คอมไพเลอร์ (Compilers)

คอมไพเลอร์ (Compilers) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกัน สำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่ง ที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ตัวแปลคอมไพเลอร์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล และภาษาฟอร์แทรน







http://titlenuchjara.blogspot.com/p/blog-page.html

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น